wecome

ยินดีต้อนรับสู่ The Library Luxury โรงเรียนวัดหลักสี่พิพัฒน์ราษฎร์อุปถัมภ์

วันเสาร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมห้องสมุด

กิจกรรมห้องสมุด

กิจกรรมห้องสมุด หมายถึง งานที่ห้องสมุดจัดขึ้นเป็นครั้งคราวหรือจัดเป็นประจำ เพื่อส่งเสริมการอ่าน การศึกษาค้นคว้าของครูและนักเรียน เช่น การจัดนิทรรศการ การแนะนำหนังสือ การจัดงานสัปดาห์ห้องสมุด ฯลฯ หรือจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการใช้ห้องสมุด ได้แก่การจัดทำคู่มือการใช้ห้องสมุด การปฐมนิเทศการใช้ห้องสมุด ฯลฯความสำคัญของกิจกรรมห้องสมุด กิจกรรมห้องสมุด มีความสำคัญที่จะช่วยส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน การศึกษาค้นคว้าให้กับผู้ใช้ห้องสมุด แม้ห้องสมุดจะมีความพร้อมทั้งด้านอาคาร สถานที่และบุคลากร แต่ถ้าหากไม่มีผู้เข้าใช้บริการถือเป็นการลงทุนที่สูญเปล่า ดังนั้น การจัดกิจกรรม เพื่อจูงใจให้มีผู้ใช้เข้าห้องสมุดได้มีโอกาสเข้าถึงหนังสือและวัสดุสารนิเทศต่างๆ ให้นักเรียนตระหนักเห็นความสำคัญของการอ่าน รักการอ่านและรู้คุณค่าของหนังสือ
ประเภทกิจกรรมห้องสมุด กรมวิชาการ (๒๕๓๖ : ๒๕๘) แบ่งกิจกรรมห้องสมุดเป็น ๔ ประเภท ได้แก่
. กิจกรรมส่งเสริมความรู้เรื่องห้องสมุด เช่น การนำชมห้องสมุด แนะนำการใช้บัตรราย-การ แนะนำวิธีดูแลรักษาหนังสือ
. กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน เช่น การเล่านิทาน การเสนอหนังสือ การตอบปัญหาจากหนังสือ การแสดงนาฎกรรม และอื่น ๆ การใช้เกมเพื่อนไปสู่การอ่าน
. กิจกรรมส่งเสริมการเรียนการสอน เช่น การจัดนิทรรศการ การทำบรรณานุกรม การ-ตอบปัญหา การแข่งขัน และการประกวด เช่น ประกวดเรียงความ ประกวดวาดภาพ ประกวดคำ-ประพันธ์ ฯลฯ
. กิจกรรมส่งเสริมความรู้ทั่วไป และการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ เช่น การฉายภาพนิ่ง การฉายภาพยนตร์ การฉายวิดีทัศน์ การจัดนิทรรศการ การอภิปราย การโต้วาที การสนทนา
รูปแบบกิจกรรมห้องสมุด กิจกรรมห้องสมุดที่น่าสนใจและนิยมจัดในห้องสมุดโรงเรียน มีดังนี้ ๑. การจัดนิทรรศการ การจัดนิทรรศการต้องกำหนดจุดมุ่งหมาย ระยะเวลา สถานที่ และโอกาสที่เหมาะสม และควรเลือกเรื่องที่ตรงกับความสนใจ ทันสมัย และเป็นประโยชน์กับผู้ใช้ (ศึกษารายละเอียดจากใบความรู้ที่ ๑๓ เรื่อง การจัดนิทรรศการ)
. การเสนอหนังสือ เป็นการเร้าใจให้อยากอ่าน และอยากรู้เรื่องในที่มีในหนังสือ เป็นการทำเพื่อสร้างทัศนคติที่ถูกต้องเกี่ยวกับหนังสือ การเสนอหนังสืออาจทำได้หลายลักษณะ เช่น
.๑ การเล่าเรื่องหนังสือ
.๒ การแนะนำหนังสือ
.๓ การอภิปรายเรื่องหนังสือ
.๔ การสนทนาเกี่ยวกับหนังสือ
.๕ การทายปัญหาจากหนังสือ
. การแสดงหนังสือใหม่ การนำหนังสือที่ห้องสมุดได้รับมาใหม่ และน่าสนใจนำมาจัดนิทรรศการ เช่น หนังสือที่ได้รับรางวัลดีเด่น หนังสือของผู้แต่งบางคน มีการจัดทำบรรณนิทัศน์ และรายชื่อหนังสือประกอบนิทรรศการ อาจจัดแสดงบนโต๊ะ บนชั้น หรือตู้นิทรรศการ
. การแสดงละคร การแสดงหุ่น จากหนังสือเล่มใดเล่มหนึ่ง จัดให้ชมพร้อมกับแนะนำหนังสือ โดยให้นักเรียนอ่านหนังสือหรือวรรณคดีเล่มนั้น ๆ และช่วยกันแต่งบทละครจากหนังสือ ให้นักเรียนสมมติเป็นตัวละครในเรื่อง กำหนดวันแสดงในวันปิดภาคหรือโอกาสสำคัญ ๆ
. การจัดวรรณกรรมสาธิต หมายถึง การแสดงต่าง ๆ เช่น ละคร การเชิดหุ่น โดยนำเรื่องจากวรรณกรรมหรือวรรณคดีที่มีชื่อเสียงมาจัดแสดง เพื่อส่งเสริมการอ่านและพัฒนานิสัยรักการ-อ่านการศึกษาค้นคว้าของนักเรียน
. การแข่งขันหรือประกวดเกี่ยวกับการอ่าน เช่น การตอบปัญหาสารานกรมไทยสำหรับเยาวชน แข่งขันโต้วาที การประกวดยอดนักอ่าน การเรียงความ การเล่านิทาน การประกวดสิ่ง-ประดิษฐ์ต่าง ๆ ซึ่งผู้เข้าประกวดอาจได้แนวคิดจากการอ่านหนังสือในห้องสมุด เป็นต้น
. เกมการอ่าน เกมคอมพิวเตอร์ เกมทายปัญหา เกมค้นหาคำศัพท์ ฯลฯ
. กิจกรรมอื่น ๆ เช่น การจัดฉายภาพยนต์ จัดฉายวีดิทัศน์ การใช้เกมเพื่อส่งเสริมการ-อ่าน ฯลฯ
นอกจากกิจกรรมต่าง ๆ ดังกล่าวแล้ว ห้องสมุดสามารถจัดกิจกรรมต่าง ๆ ได้อีก แล้วแต่โอกาส ทั้งนี้ ควรวางแผนจัดตารางกิจกรรมไว้ล่วงหน้า ซึ่งอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามตามความเหมาะสม กำหนดจุดมุ่งหมายให้ชัดเจน เลือกหัวข้อให้เหมาะกับวัย พิจารณาระยะเวลา งบ-ประมาณ สถานที่ เพื่อให้การจัดกิจกรรมบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
การจัดนิทรรศการ
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ..๒๕๒๕. (๒๕๓๘ : ๔๔๖) ให้ความหมายว่านิทรรศการ น. การแสดงผลงาน สินค้าผลิตภัณฑ์ หรือกิจกรรมให้คนทั่วไปชม (. Exhibition)
นิทรรศการ คือ การจัดแสดงผลงานอย่างใดอย่างหนึ่งให้บุคคลได้รู้เห็น ถือเป็นการให้ การศึกษาอย่างหนึ่ง ด้วยการนำของจริง สิ่งจำลอง ภาพถ่ายและแผนภูมิสิ่งของต่าง ๆ มาจัดแสดง เพื่อก่อให้เกิดความรู้ และผู้ชมได้ข้อมูล สถานที่จัดจะเป็นภายนอกหรือในอาคารก็ได้ ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม และความพร้อมของผู้จัด
วัตถุประสงค์ของการจัดนิทรรศการห้องสมุด ฉวีวรรณ คูหาภินันท์ (๒๕๔๒ : ๒๗๖) อธิบายว่า การจัดนิทรรศการเป็นกิจกรรมส่งเสริมการอ่านประเภทหนึ่งที่มีจุดมุ่งหมาย ดังนี้
. กระตุ้นและดึงดูดความสนใจให้อยากอ่านหนังสือและสื่อการอ่านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในเรื่องที่จัดนิทรรศการ
. เป็นการแนะนำให้รู้จักอ่านหนังสือในสาขาวิชาต่าง ๆ ทั้งในหลักสูตรและนอกหลักสูตร เพื่อเพิ่มพูนความรู้ทั้งในด้านการศึกษาเล่าเรียน และความรู้เพื่อพัฒนาอาชีพ
. เพื่อแสดงให้ผู้อ่านทราบว่า มีหนังสือใหม่ ๆ หรือสื่อการอ่านใหม่ ๆ ที่ทันสมัยในห้อง-สมุดที่ผู้อ่านจะได้มายืนอ่านหรือมาใช้บริการในห้องสมุดได้
.เพื่อแนะนำหนังสือและสื่อต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์สำคัญ วันสำคัญในรอบปี เทศกาลและประเพณีสำคัญต่าง ๆ บุคคลสำคัญที่มีชื่อเสียง ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ตลอดจนนักประพันธ์ที่มีผลงานดีเด่น ที่ผู้อ่านควรจะได้อ่าน เป็นการเพิ่มพูนความรู้และขยายโลกทัศน์ของผู้อ่านให้กว้างขวางยิ่งขึ้น


ประเภทของนิทรรศการ
การจัดนิทรรศการสามารถแยกได้ ๓ ประเภท ดังนี้
. นิทรรศการถาวร หมายถึง การจัดนิทรรศการระยะยาว เช่นในพิพิธภัณฑ์ หรือหอศิลป์ที่มีผลงานติดตั้งไว้เป็นการถาวร
. นิทรรศการชั่วคราว หมายถึง การจัดนิทรรศการเป็นครั้งคราวในระยะเวลาสั้น ๆ
. นิทรรศการเคลื่อนที่ มีจุดมุ่งหมายเดียวกับนิทรรศการชั่วคราว กล่าวคือจัดในช่วงเวลาสั้น ๆ แต่หมุนเวียนไปตามสถานที่ต่าง ๆ เช่น พิพิธภัณฑ์เคลื่อนที่ รถประชาธิปไตยเคลื่อนที่ ฯลฯ
องค์ประกอบของการออกแบบนิทรรศการ (สารานุกรมศึกษาศาสตร์ฉลองสิริราชย์สมบัติครบ ๕๐ ปี. ๒๕๔๐ : ๓๙๘ - ๓๙๙) มีอยู่ ๒ ประการ คือ
. ลักษณะโครงสร้างหรือรูปแบบ หมายถึง ภาพรวมของสถานที่ การจัดวางตำแหน่งสิ่งของที่จะแสดงตลอดจนการตกแต่ง เพื่อให้เกิดความสวยงาม น่าสนใจ ซึ่งมีหลักการสำคัญ ดังนี้
.๑ ความกลมกลืน (Harmony) ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน มีลักษณะได้ รับกันและเป็นชุดเดียวกัน
.๒ ความสมดุล (Balance) การจัดวางสิ่งของที่จะแสดง การให้สี หรือส่วนประกอบต่าง ๆ ควรจัดให้มีความสมดุลกัน ทำให้ผู้ชมเกิดความสบายตา
.๓ จังหวะ (Rhythm) การวางสิ่งของที่นำมาแสดงให้เกิดลีลา จังหวะต่าง ๆ ซึ่งขั้นอยู่กับดุลยพินิจของผุ้จัด
.๔ การเน้น (Dominance) การจัดให้มีส่วนที่เด่น สะดุดตา อาจเน้นด้วยข้อความ หรือสิ่งของหากเส้นทุกจุดจะทำให้เกิดความสับสนในการมองและทำให้ขาดความสวยงาม
.๕ สัดส่วน (Proportion) ความเหมาะสมของสิ่งต่าง ๆ ที่นำมาแสดงควรมีสัดส่วนที่เหมาะสม ไม่แน่นจนเกินไป
. เนื้อหาสาระ หมายถึง สาระความรู้ที่จะนำเสนอในแง่มุมต่าง ๆ เป็นการเผยแพร่ และสื่อสารแก่ผู้ชม ดังนั้น การออกแบบนิทรรศการควรเน้นการนำเสนอความรู้ที่มีระบบ จัดลำดับเนื้อหา ความเชื่อมโยงต่อเนื่องสามารถสื่อสารได้ตรงประเด็น มีรูปแบบที่สอดคล้องกับจุดมุ่งหมาย
แนวทางการวางแผนจัดนิทรรศการ

วางโครงเรื่อง
วัสดุเฉพาะเรื่อง
จัดเป็นแบบทางการหรือไม่
สีพื้น, สีกระดาษ ฯลฯ
สะอาด อ่านง่าย ชัดเจน
พิจารณาโอกาส กาลเทศะในการจัด
พยายามใช้ภาพช่วยสื่อเรื่องราว
ใช้สี และตกแต่งให้สวยงาม
ซ่อนอุปกรณ์ที่ใช้ให้มิดชิด เช่น เข็มหมุด เทปกาว ฯลฯ
ออกแบบให้น่าสนใจ



เลือกหัวข้อ
เลือกวัสดุที่ต้องการ
วางแผนเตรียมการ
การกำหนดสีที่ใช้
ตัวอักษร
บรรยากาศ
เข้าใจง่าย
เพิ่มการดึงดูดสายตา
ความเรียบร้อย
ความคิดริเริ่ม

หัวข้อที่ควรจัดนิทรรศการ ๑. นิทรรศการหนังสือใหม่ ห้องสมุดได้รับหนังสือใหม่ จัดแสดงหนังสือใหม่เพื่อประชา-สัมพันธ์ หรือแนะนำหนังสือเฉพาะเรื่อง จูงใจให้ผู้ใช้สนใจและอยากอ่านหนังสือมากยิ่งขึ้น
. นิทรรศการวันสำคัญตามเทศกาล ตามวาระหรือโอกาสต่าง ๆ เช่น วันสำคัญทาง-ศาสนา วันสหประชาชาติ วันสุนทรภู่ วันเฉลิมพระชนมพรรษา วันไหว้ครู วันเด็ก วันครู วันวิทยา-ศาสตร์ ฯลฯ ซึ่งห้องสมุดสามารถเลือกจัดได้ทุกเดือน
. นิทรรศการเหตุการต่าง ๆ ที่น่าในใจในรอบปี เช่น ฟุตบอล กีฬาโอลิมปิก สิ่งแวดล้อม การอนุรักษ์ธรรมชาติ เป็นต้น
. นิทรรศการเพื่อส่งเสริมการเรียนการสอนสาขาวิชาต่าง ๆ ตามหลักสูตร เช่น โรคเอดส์ การผสมเทียม วันสิ่งแวดล้อมโลก วัยรุ่นกับบุหรี่ นางในวรรณคดี อาหารไทย ประวัติพระพุทธรูป สงครามโลก ภาษาไทยวันนี้ หนังสือเล่มนี้ดีอย่างไร เรียนดี เรียนเก่ง ฯลฯ นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้จากการชมนิทรรศการ
การจัดนิทรรศการห้องสมุดแต่ละครั้งนั้น เพื่อนำไปสู่การอ่าน ควรให้นักเรียนจัดทำบรรณานุกรม และบรรณนิทัศน์ของหนังสือแต่ละเล่มที่นำมาแสดงประกอบนิทรรศการ มอบหมายให้นักเรียนได้มีส่วนร่วมในการจัด เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างบรรณารักษ์กับนักเรียน

ป้ายนิเทศที่ดี


วันศุกร์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2555

ความหมายห้องสมุด

                ห้องสมุด หมายถึง สถานที่รวบรวมสรรพวิทยาการต่าง ๆ ที่บันทึกไว้ในรูปแบบหนังสือ วารสาร สิ่งพิมพ์ ต่าง ๆ หรืออุปกรณ์โสตทัศนวัสดุและมีการจัดไว้อย่างเป็นระบบ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้บริการในการค้นคว้า
ประเภทของห้องสมุด ห้องสมุดสามารถแบ่งได้เป็น 5 ประเภท ตามวัตถุประสงค์ในการให้บริการและประเภทของผู้ใช้
1. ห้องสมุด โรงเรียน ให้บริการนักเรียนและบุคลากรภายในโรงเรียน
2. ห้องสมุดมหาวิทยาลัย/วิทยาลัย ให้บริการนักศึกษาและบุคลากรในสถานศึกษา
3. ห้องสมุดประชาชน ให้บริการแก่ประชาชนทั่วไป และผู้ที่สนใจ
4. ห้องสมุดแห่งชาติหรือหอสมุดแห่งชาติ
5. ห้องสมุดเฉพาะ ได้แก่ห้องสมุดของหน่วยงาน บริษัท สมาคม โรงพยาบาล โรงงาน เป็นต้น ห้องสมุดประเภทนี้จะมีผู้ใช้เฉพาะกลุ่ม หนังสือหรือ ทรัพยากรก็จะมีจำกัดเฉพาะวิชาเฉพาะกลุ่มลงไป
 
วัตถุประสงค์ของการจัดห้องสมุด

         วัตถุประสงค์โดยทั่วไปของการจัดห้องสมุด   โดยไม่จำกัดว่าเป็นห้องสมุดประเภทใดประเภทหนึ่งโดยเฉพาะ  มีอยู่ 5 ประการ คือ
           1. เพื่อการศึกษา  ( Education )
               ห้องสมุดเป็นแหล่งบริการการศึกษาด้วยตนเองแก่ผู้ใช้  โดยไม่เลือกเพศ วัย และ
พื้นฐานความรู้  จัดเป็นตลาดวิชาซึ่งผู้อ่านจะสามารถเลือกอ่านและใช้บริการได้ทุกเวลาทุกโอกาส 
              2. เพื่อให้ความรู้  ( Information )          
                   ห้องสมุดเป็นแหล่งที่ให้ความรู้ และข้อเท็จจริงของข่าวสาร ทั้งในและต่างประเทศ  ที่ทันต่อเหตุการณ์  แก่ผู้ที่สนใจใคร่รู้หรือมีปัญหาข้องใจ  ไม่ว่าเรื่องเล็กหรือเรื่องใหญ่
              3. เพื่อการค้นคว้าวิจัย  ( Research )       
                   ห้องสมุดจะเป็นแหล่งช่วยให้ผู้อ่านที่สนใจวิชาการแขนงใดแขนงหนึ่ง    สามารถ
ค้นหาข้อมูลทางวิชาการใหม่ ๆ  ให้แตกฉานลึกซึ้ง   เพื่อความก้าวหน้าในสาขาวิชานั้น ๆ
              4. เพื่อความจรรโลงใจ  ( Inspiration )
                   วัสดุอุปกรณ์  หนังสือในห้องสมุด ช่วยให้ผู้ใช้บริการเกิดความสุขใจ  จนในบางครั้ง
ผู้ใช้อาจจะเกิดความซาบซึ้งและประทับใจวรรณกรรมสาขาต่าง ๆ ที่ผู้รู้เขียนขึ้น   และเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะนำไปสู่ความเจริญงอกงามในชีวิตและจิตใจ
                 
                  5. เพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ ( Recreation )   
                  ห้องสมุดบางแห่งอาจจะมีบริการด้านนี้ได้  นอกเหนือจากหนังสือประเภทบันเทิงและสารคดีท่องเที่ยว  กับมีภาพยนตร์เรื่องดี ๆ ที่มีสาระ  มีสไลด์ฉายให้ดูในเวลาว่าง   ซึ่งจะทำให้ผู้ใช้ห้องสมุดได้รับการพักผ่อนหย่อนใจ  คลายความกังวล  คลายความเคร่งเครียด และเพื่อความรื่นรมย์ใจในยามว่างได้ดี
             ในด้านห้องสมุดโรงเรียนนั้นมีวัตถุประสงค์ที่เน้นหนักไปในทางส่งเสริมให้นักเรียนมีนิสัยรักการอ่าน  มีรสนิยมและวิจารณญาณในการเลือกหนังสืออ่าน ตามความต้องการและความสนใจ  ในด้านส่งเสริมสังคมประชาธิปไตยให้มากขึ้น  กรมสามัญศึกษา  ได้กำหนดวัตถุประสงค์ของงานห้องสมุดโรงเรียนไว้ ดังนี้ (รัญจวน  อินทรกำแหง)
              1.   สนับสนุนส่งเสริมหลักสูตร  นโยบายและโครงการของโรงเรียน
              2.   ให้การศึกษาค้นคว้าสำหรับนักเรียน  เพื่อความงอกงามในทางสติปัญญาและจิตใจ
3. ส่งเสริมและให้การแนะแนวในการอ่าน ให้นักเรียนเข้าใจวิธีการ และสามารถหา
ความสุขจากการอ่าน ตลอดจนปลูกฝังรสนิยมในการอ่านให้ดีขึ้น
             4.    เปิดโอกาสให้นักเรียนได้อ่านหนังสือตามความสนใจ ความต้องการ  และความ
      สามารถของตนเอง  โดยการศึกษาค้นคว้าจากห้องสมุด
             5.   เตรียมนักเรียนให้มีประสบการณ์ในการใช้ห้องสมุด  เพื่อให้เกิดนิสัยรักการอ่าน       
 เข้าใจ และมีทักษะในการใช้ห้องสมุดประชาชน ห้องสมุดมหาวิทยาลัย  เพื่อประโยชน์ 
 ต่อการศึกษาค้นคว้าในอนาคต
             6. ให้นักเรียนเกิดทักษะในการใช้หนังสือและโสตทัศนวัสดุ  เพื่อประโยชน์ในการศึกษา
 ค้นคว้า 
             7. ให้บริการและอำนวยความสะดวกแก่ครูในการเลือกใช้หนังสือ และโสตทัศนวัสดุ  
 เพื่อประโยชน์ในการสอน
             8. สนับสนุนการส่งเสริม  โดยร่วมมือกับครูและผู้บริหาร  เพื่อความเจริญก้าวหน้าในการ 
 ดำเนินงานการศึกษาทุกด้าน
             9. ร่วมมือกับบรรณรักษ์ห้องสมุดอื่น ๆ ในชุมชนเดียวกัน  เพื่อช่วยกันคิดปรับปรุงงาน
 ห้องสมุดในชุมชนนั้น  ให้เจริญก้าวหน้าและกว้างขวางยิ่งขึ้น
             ประเภทของห้องสมุด   
 โดยหลักสากลอาจแบ่งห้องสมุดออกได้เป็น 5 ประเภท คือ 
1. หอสมุดแห่งชาติ  ( National Library  )  เป็นหอสมุดประจำชาติของแต่ละประเทศ  จัดบริการประชาชนเช่นเดียวกับห้องสมุดประชาชน  แต่จะแตกต่างกันบ้าง เช่นหอสมุดแห่งชาติบริการการอ่านเฉพาะในหอสมุด  ไม่มีบริการยืม- คืน  หอสมุดแห่งชาติจะมีหนังสือทุกประเภทที่ผลิตในประเทศไทย  โดยได้รับจากผู้ผลิต  หอสมุดแห่งชาติตั้งอยู่ที่บริเวณท่าวาสุกรี  กรุงเทพฯ
               2. ห้องสมุดมหาวิทยาลัยและวิทยาลัย  ( College and University Library )   จัดขึ้นสำหรับบริการนิสิต นักศึกษา อาจารย์ และบุคลากรในวิทยาลัย มหาวิทยาลัย                       
               3. ห้องสมุดเฉพาะ ( Special Library ) ( พวา  พันธุ์เมฆา) ได้อธิบายว่าห้องสมุดเฉพาะ เป็นห้องสมุดที่จัดตั้งขึ้นเพื่อสนองความต้องการเฉพาะอย่างของกลุ่มบุคคลในวิชาชีพชั้นสูงหรือ
นักธุรกิจ  หนังสือและวัสดุในห้องสมุดประเภทนี้จะให้ข้อมูลเฉพาะด้านเท่านั้น
                4. ห้องสมุดประชาชน  ( Public Library ) จัดขึ้นสำหรับบริการประชาชน ทั่วไปทุกเพศทุกวัย มีในทุกจังหวัด ทั้งในระดับจังหวัดและอำเภอ
             5.ห้องสมุดโรงเรียน ( School  Library ) จัดขึ้นสำหรับบริการนักเรียน ครู อาจารย์
ผู้บริหาร นักการภารโรงและเจ้าหน้าที่ต่าง ๆ ในโรงเรียน  เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนตาม
หลักสูตร และตามนโยบายของโรงเรียน
 ประโยชน์ของห้องสมุด 1. เป็นสถานที่ค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติม
2. เป็นสถานที่ ที่ผู้ใช้บริการจะเลือกหนังสือที่อ่านได้ตามความสนใจ
3. ช่วยให้ผู้ใช้บริการเป็นคนทันสมัยอยู่ตลอดเวลา
4. ช่วยให้ผู้ใช้บริการรู้จักใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
5. ช่วยให้ผู้ใช้บริการมีนิสัยรักการอ่าน
6. ฝึกให้ผู้ใช้บริการรู้จักรับผิดชอบในสาธารณสมบัติ
 ห้องสมุดช่วยให้นักเรียนสามารถศึกษาหาความรู้ที่เรียนจากชั้นเรียนและที่นอกเหนือไปจากชั้นเรียนได้  ช่วยให้ครูค้นหาอุปกรณ์ในการเรียนการสอนได้  ช่วยให้นักเรียนได้รับความรู้กว้างขวางจากการได้พบและได้อ่าน ช่วยให้นักเรียนได้ใช้เวลาว่างอย่างมีประโยชน์
ส่วนประกอบของหนังสือ
          การศึกษาส่วนประกอบของหนังสือนั้น มีความจำเป็นมากสำหรับผู้อ่าน นอกเหนือจากการอ่านเนื้อเรื่องของหนังสือแล้ว  ผู้อ่านควรที่จะทราบส่วนประกอบของหนังสือด้วย เนื่องจากแต่ละส่วนของหนังสือ จะบอกข้อมูลต่างๆ  ที่เกี่ยวข้องกับหนังสือเล่มนั้นๆ เพื่อประกอบการพิจารณาตัดสินใจในการเลือกซื้อ หรือใช้ประกอบการอ้างอิงได้ หรือเพื่อประโยชน์ในการช่วยให้อ่านหนังสือได้เข้าใจยิ่งขึ้น ซึ่งหนังสือประกอบด้วย 4 ส่วนใหญ่ๆ ดังนี้
1. ส่วนปก (binding)
2. ส่วนประกอบตอนต้น (preliminary page)
3. ส่วนเนื้อเรื่อง (text / body of the book)
4. ส่วนประกอบตอนท้าย(auxiliary materials)
          หนังสือแต่ละเล่มที่ผลิตออกมานั้น ล้วนแล้วแต่มีส่วนประกอบต่างๆ ที่มากน้อย แตกต่างกันไป อาจไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ ตามหลักวิชาการ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ ปัจจัยการผลิตหลายประการ ซึ่งไม่ถือว่าเป็นสิ่งผิด เพราะไม่มีหนังสือเล่มใดในโลก ที่มีส่วนประกอบครบถ้วนสมบูรณ์ทุกประการ
1.  ส่วนปก (binding)
1.1 ใบหุ้มปก (book jacket / dust jacket / wrapper)
  • เป็นส่วนแรกของหนังสือ มีลักษณะเป็นกระดาษหุ้มตัวเล่มด้านนอกของหนังสือไว้ แล้วพับทบไว้ที่ด้านในของปกทั้งปกหน้าและปกหลัง ที่ด้านหน้าของใบหุ้มปกจะพิมพ์รูปภาพ หรือข้อความ ที่มีลักษณะเหมือนกับปกจริงของหนังสือ ซึ่งอาจเป็นชื่อหนังสือ และชื่อผู้แต่ง  หรืออาจเป็น ภาพที่แตกต่างจากปกจริงก็ได้ แต่ต้องเป็นภาพที่มีสีสันสวยงาม เพื่อดึงดูดความสนใจ  และเป็นภาพมีความสัมพันธ์กับเนื้อหาภายในตัวเล่ม 
  • ใบหุ้มปกช่วยให้หนังสือสวยงาม และยืดอายุการใช้งานของหนังสือ โดยป้องกันไม่ให้หนังสือสกปรกง่าย ส่วนที่พับทบไว้ด้านในของปก ทั้งปกหน้าและปกหลัง ยังสามารถพิมพ์ประวัติของผู้แต่งหนังสือ และเนื้อเรื่องย่อของหนังสือได้อีกด้วย
1.2  ปก (blnding / cover)
  • ปกของหนังสือมีทั้งปกอ่อน และปกแข็ง ซึ่งมีกรรมวิธีในการเข้าปกไม่เหมือนกันโดยหนังสือปกอ่อน เป็นเพียงการนำปกที่พิมพ์สำเร็จแล้ว มาทากาวทาบติดกับตัวเล่ม แต่หนังสือปกแข็งมักจะมีการทำปกด้วยผ้าแล็กซีล หรือกระดาษแล็กซีล (Lacquer sealed)  และมีกรรมวิธีในการเข้าปกที่ยุ่งยากซับซ้อน แต่หนังสือปกแข็งมีความแข็งแรงทนทานมากกว่าหนังสือปกอ่อน จึงมีผลทำให้หนังสือปกแข็งมีราคาแพงกว่าหนังสือปกอ่อน 
  • ไม่ว่าจะเป็นปกอ่อนหรือปกแข็ง  ปกของหนังสือจะมีหน้าที่ยึดกระดาษที่อยู่ด้านใน ให้รวมเป็นเล่มเดียวกัน และมีรูปทรงที่ชัดเจน เพื่อรักษารูปทรงของหนังสือให้คงทน โดยบริเวณปกด้านหน้าจะเขียนชื่อเรื่องของหนังสือ ชื่อผู้แต่ง ปีที่พิมพ์ บางครั้งอาจมีชื่อสำนักพิมพ์ด้วย
1.3  สันหนังสือ (spine)
  • เป็นส่วนที่อยู่ระหว่างปกหน้า และปกหลัง มีหน้าที่ยึดปกหน้า และปกหลังให้ติดกัน ซึ่งขนาดของสันหนังสือแต่ละเล่มจะบางหรือหนาแตกต่างกันไปตามจำนวนกระดาษที่อยู่ด้านใน หนังสือที่มีสันหนา ส่วนมากนิยมพิมพ์ข้อมูลของหนังสือ เช่น ชื่อเรื่อง ชื่อผู้แต่ง สำนักพิมพ์ และปีที่พิมพ์ ตามลำดับ สำหรับหนังสือที่มีสันบาง สามารถเลือกพิมพ์ ข้อมูลที่จำเป็นบางอย่างได้ โดยส่วนใหญ่จะเลือกพิมพ์ชื่อเรื่องก่อน
  • ห้องสมุดใช้ประโยชน์จากสันหนังสือโดยการพิมพ์ เลขเรียกหนังสือ (call  number) ไว้บริเวณด้านล่างของสันหนังสือ ซึ่งวัดจากขอบล่างของหนังสือขึ้นมาประมาณ 1.5 - 3 นิ้ว  แต่กรณีที่สันหนังสือบาง ไม่สามารถพิมพ์เลขเรียกหนังสือลงไปได้ ห้องสมุดจะเปลี่ยนมาเขียนเลขเรียกหนังสือที่บริเวณปกหน้า ด้านล่างซ้ายแทน โดยวัดห่างจากขอบล่างของหนังสือขึ้นมาประมาณ 1.5 - 3 นิ้ว เช่นกัน และห่างจากขอบสันด้านซ้ายของหนังสือเข้ามาประมาณ 1.5 นิ้ว  หรือบางห้องสมุดจะพิมพ์เลขเรียกหนังสือทั้งที่สัน และปกหน้าของหนังสือ
1.4  ใบติดปก (end paper)
  • เป็นกระดาษที่ทากาวผนึกติดอยู่กับปกด้านใน ทั้งปกหน้าและปกหลัง ส่วนใหญ่จะพบใบติดปกในหนังสือปกแข็ง เนื่องจากหนังสือปกแข็งจะมีการทำปกด้วยผ้าแล็กซีล หรือ กระดาษแล็กซีล ซึ่งทำให้มีรอยตะเข็บที่เกิดจากการพับผ้าแล็กซีล หรือกระดาษแล็กซีล จึงต้องนำกระดาษมาปิดทับรอยนั้นเพื่อให้เกิดความสวยงาม นอกจากนี้ ยังทำหน้าที่ช่วยยึดปกกับตัวเล่มหนังสือไว้ด้วยกันอีกด้วย
2.  ส่วนประกอบตอนต้น (preliminary page)

2.1 ใบรองปก (fly leave)
  • เป็นกระดาษแผ่นเดียวกันกับใบติดปกที่มีความยาวต่อเนื่องกันมา แต่ปล่อยเป็นอิสระ ระหว่างใบติดปกและใบรองปก จะถูกยึดติดกับตัวเล่ม เพื่อช่วยให้ปกและตัวเล่มหนังสืออยู่ติดกันได้นานขึ้น โดยส่วนใหญ่ใบติดปกและใบรองปกจะเป็นกระดาษที่หนาและเหนียวพอสมควร
2.2  หน้าชื่อเรื่อง (half title page)
  • เป็นหน้าที่มีชื่อเรื่องของหนังสือเพียงอย่างเดียว เพื่อเป็นการกล่าวซ้ำให้ชัดเจนว่าหนังสือมีชื่อเรื่องว่าอย่างไร หนังสือบางเล่มที่มีชื่อเรื่องเทียบเคียง (pararell title) และชื่อเรื่องรอง (subtitles) ก็จะปรากฏอยู่ที่หน้าชื่อเรื่องเช่นกัน นอกจากนี้หน้าชื่อเรื่องยังทำหน้าที่แทนปกชั่วคราว กรณีที่ปกหลุด หรือสูญหาย
2.3  หน้าภาพนำ (frontispiece) 
  • เป็นหน้าที่แสดงภาพที่มีความสำคัญ และเกี่ยวข้องกับเนื้อเรื่องของหนังสือ อาจเป็นภาพขนาดใหญ่ และไม่ปรากฏตัวอักษรใดในหน้าภาพนำ
2.4  หน้าปกใน  (title page)
  • เป็นหน้าที่มีความสำคัญที่สุด เนื่องจากเป็นหน้าที่มีรายละเอียดทางบรรณานุกรม ของหนังสือครบถ้วนสมบูรณ์ที่สุด ซึ่งสามารถนำไปใช้ในการอ้างอิงและเขียนบรรณานุกรมได้
  • รายละเอียดทางบรรณานุกรมที่ปรากฏในหน้าปกใน ได้แก่
2.4.1  ชื่อผู้แต่ง (author) หน้าปกในจะปรากฏชื่อผู้แต่งทุกคนอย่างครบถ้วน บางครั้งบอกคุณวุฒิ และสถานที่ทำงานของผู้แต่งแต่ละคนด้วย
2.4.2   ชื่อเรื่องหนังสือ (title) เป็นส่วนที่มีชื่อเรื่องของหนังสือที่ถูกต้องซึ่งอาจมีทั้งชื่อเรื่องจริง (title proper) ชื่อเรื่องเทียบเคียง (pararell title) และชื่อเรื่องรอง (subtitles)
2.4.3   ครั้งที่พิมพ์ (edition) หนังสือที่มีจำนวนครั้งที่พิมพ์มาก แสดงว่าเป็นหนังสือที่ได้รับความนิยมอ่านมาก  เช่น พิมพ์ครั้งแรก พิมพ์ครั้งที่ พิมพ์ครั้งที่ พิมพ์ครั้งที่ 4 พิมพ์ครั้งที่ 5
2.4.4   สถานที่พิมพ์ (place of publisher) คือ ชื่อเมือง ชื่อจังหวัด หรือชื่อประเทศ ซึ่งเป็นที่ตั้งของสำนักพิมพ์ที่จัดพิมพ์หนังสือ เช่น กรุงเทพฯ  New York  London Toronto
2.4.5   สำนักพิมพ์ (publisher) คือ ชื่อของบริษัท สำนักพิมพ์ หรือหน่วยงาน ที่รับผิดชอบจัดพิมพ์หนังสือ เช่น สำนักพิมพ์ดอกหญ้า  สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  McGraw – Hill  Facts on File  H.W. Wilson Company
2.4.6   ปีที่พิมพ์ (date of publication) เป็นปีที่จัดพิมพ์เผยแพร่หนังสือ
2.5  หน้าลิขสิทธิ์ (copyright page)             
  • เป็นหน้าที่อยู่ด้านหลังของหน้าปกใน มีข้อความบอก ปีที่จดทะเบียนลิขสิทธิ์หนังสือ และผู้ถือลิขสิทธิ์  เช่น
  • สงวนลิขสิทธิ์ตามพ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ โดยบริษัท....................... พ.ศ.2538  ห้ามการลอกเลียนไม่ว่าส่วนหนึ่งส่วนใดของหนังสือเล่มนี้ นอกจากจะได้รับอนุญาต
  • นอกจากข้อความที่เป็นลิขสิทธิ์แล้ว ในหน้านี้ยังอาจมีข้อมูลอื่นๆ ของหนังสือเพิ่มเติมด้วย เช่นเป็นหน้าที่อยู่ด้านหลังของหน้าปกใน มีข้อความบอก ปีที่จดทะเบียนลิขสิทธิ์หนังสือ และผู้ถือลิขสิทธิ์  เช่น
2.5.1 ข้อมูลเกี่ยวกับรายละเอียดทางบรรณานุกรมของหนังสือ
2.5.2 เลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ (International Standard Book Number = ISBN)  เป็นเลขสำหรับข้อมูลของหนังสือแต่ละเล่ม เพื่อการติดต่อสื่อสาร ให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันระหว่างประเทศต่างๆ
2.6  หน้าคำอุทิศ (dedication page)
  • มีข้อความที่บอกถึงการอุทิศความดี หรือประโยชน์ที่ผู้อ่านจะได้รับจากหนังสือเล่มนี้ให้แก่บุคคลต่างๆ  เพื่อเป็นการระลึกถึงคุณงามความดีของบุคคลเหล่านั้นที่มีส่วนทำให้ผู้เขียนได้รับความสำเร็จจากการเขียนหนังสือ

  •  ตัวอย่างหน้าคำอุทิศ
คำอุทิศ
          หาก คุณค่าทางความรู้และความคิดจากเอกสารเล่มนี้  ช่วยชี้แนะผู้อ่านให้มีนิสัยรักการอ่าน และสามารถศึกษาค้นคว้าหาความรู้ข้อมูล  ที่ตนเองสนใจและต้องการได้อย่างถูกต้องรวดเร็วด้วยตนเองแล้ว ผู้เขียนขออุทิศความดีดังกล่าว ให้ผู้มีพระคุณต่อผู้เขียนทุกท่าน
ประทีป  จรัสรุ่งรวีวร   

2.7  หน้าคำนำ (preface)                  
  • มีข้อความที่แจ้งให้ผู้อ่านทราบถึงวัตถุประสงค์ หรือจุดประสงค์ในการเขียนหนังสือ ในตอนท้ายอาจมีคำขอบคุณ หรือประกาศคุณูปการต่อผู้ที่มีส่วนช่วยเหลือในการเรียบเรียง หรือพิมพ์หนังสือนั้น
2.8  หน้าบทนำ (introduction)
  • เป็นการอธิบายเนื้อหา หรือขอบเขตโดยย่อของหนังสือ เพื่อให้ผู้อ่านได้มีความรู้ความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับหนังสือเล่มนั้นๆ  ก่อนที่จะอ่านเนื้อเรื่องอย่างละเอียดต่อไป
2.9  หน้าสารบัญ (table of contents)
  • การนำหัวข้อต่างๆ ในเนื้อเรื่อง มาจัดเรียงลำดับตั้งแต่หัวข้อแรก จนถึงหัวข้อสุดท้ายและกำกับด้วยเลขหน้าที่หัวข้อนั้นๆ ปรากฏอยู่ เพื่อช่วยให้ผู้อ่านสามารถค้นหาเนื้อเรื่อง ที่ต้องการอ่านในตัวเล่มได้รวดเร็วขึ้น
2.10  หน้าสารบัญภาพ แผนที่ และตาราง (list of illustrations,  maps and tables)
  • หน้าสารบัญภาพประกอบ แผนที่  และตารางจะมีในหนังสือบางเล่มที่มีภาพประกอบ แผนที่ หรือตารางเท่านั้น โดยนำชื่อภาพ ชื่อแผนที่ ชื่อตารางมาจัดเรียงตามลำดับก่อนหลังที่ปรากฏในเล่ม และกำกับด้วยเลข เพื่อช่วยให้ผู้อ่านสามารถค้นหาภาพ แผนที่หรือตารางที่ต้องการได้รวดเร็วขึ้น โดยแยกหน้าสารบัญตามประเภท
3. ส่วนเนื้อเรื่อง (text or body of the book)
3.1  เนื้อหา (text / body of the book)
  • เนื้อหาเป็นส่วนสำคัญที่สุดของหนังสือ มีการประมวลความรู้ต่างๆ ที่ผู้เขียนต้องการสื่อสารให้กับผู้อ่านได้ทราบ การเรียบเรียงเนื้อหาเป็นระบบระเบียบ โดยเฉพาะหนังสือวิชาการ จะมีการแบ่งเนื้อหาออกเป็นบทๆ ซึ่งหนังสือแต่ละเล่มจะมีกี่บทก็ได้ แล้วแต่การจัดแบ่งของผู้เขียนตามความเหมาะสม  แต่หนังสือบางเล่ม มีการเขียนเนื้อหาติดต่อกันไปตลอดทั้งเล่ม ไม่มีการแบ่งบท  ส่วนใหญ่หนังสือที่ไม่มีการแบ่งบทนี้ จะเป็นหนังสือสำหรับอ่านหาความรู้ทั่วไป ไม่ใช่หนังสือวิชาการ
  • ในกรณีที่เป็นหนังสือวิชาการมักจะพบส่วนประกอบ ที่เรียกว่าการอ้างอิงแทรกในเนื้อหาหรือ เชิงอรรถอย่างใดอย่างหนึ่ง ปรากฏอยู่ในเนื้อเรื่องเสมอ เพราะเป็นการแสดงให้เห็นถึงการค้นคว้าอย่างจริงจังจากเอกสารหลายๆ เล่ม เพื่อให้ได้ความรู้ใหม่มาเรียบเรียงในการเขียนหนังสือเล่มนั้นๆ
3.2  การอ้างอิงระบบนามปี  (parenthetical references)
  • หมายถึง ข้อความที่บอกแหล่งที่มาของเนื้อเรื่อง ซึ่งแทรกอยู่ในเนื้อหา และอยู่ในวงเล็บ ได้แก่ ชื่อผู้แต่ง ปีที่พิมพ์ และเลขหน้าของเอกสารที่นำมาอ้างอิง
ตัวอย่างการอ้างอิงแทรกในเนื้อหา
           จากความจำเป็นที่แพทย์ ต้องใช้สารนิเทศเพื่อการปฏิบัติงาน แต่จำนวนสารสนเทศทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วประมาณว่าแต่ละปีมีบทความใหม่ตีพิมพ์ออกมา 400,000 จากวารสารประมาณ 14,000 รายการ (สุชาดา ธินะจิตร, 2535, หน้า 20)  มีบทความปริทัศน์ (Review articles เป็นข้อเขียน.....

3.3  เชิงอรรถ(การอ้างอิงท้ายหน้า)
  • หมายถึง ข้อความที่บอกแหล่งที่มาของเนื้อเรื่อง ซึ่งจะปรากฏอยู่ที่ท้ายหน้ากระดาษ  มี 3 ประเภท ได้แก่
3.3.1 เชิงอรรถอ้างอิง (citation  footnote) เป็นเชิงอรรถที่แจ้งแหล่งที่มา ของข้อความว่านำมาจากเอกสารใด เพื่อให้ผู้อ่านสามารถตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล หรือสามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมจากเอกสารต้นฉบับได้
3.3.2 เชิงอรรถเสริมความ (content  footnote) เป็นเชิงอรรถที่อธิบายคำ หรือความหมาย หรืออธิบายรายละเอียดเพิ่มเติม เพื่อให้ผู้อ่านสามารถเข้าใจเนื้อเรื่องได้ดียิ่งขึ้น
3.3.3 เชิงอรรถโยง (cross reference footnote) เป็นเชิงอรรถที่โยงให้ผู้อ่านดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้จากส่วนอื่นๆ ของตัวเล่ม เพื่อหลีกเลี่ยงการกล่าวซ้ำ

4. ส่วนประกอบตอนท้าย (auxiliary materials)
4.1  ภาคผนวก (appendix)
  • ส่วนที่เพิ่มเติมจากเนื้อเรื่อง ซึ่งไม่สามารถที่จะนำไปเขียนไว้ในเนื้อเรื่องได้ เนื่องจากจะทำให้เนื้อหา ขาดตอนไม่ต่อเนื่อง แต่มีความสำคัญเกี่ยวข้องกับเนื้อเรื่อง ซึ่งผู้อ่านควรจะได้ทราบ เช่น หนังสือเรื่อง  คู่มืออินเทอร์เน็ต โดย สุรศักดิ์ สงวนพงษ์  เนื้อหาในตัวเล่มมีหัวข้อต่างๆ ที่เกี่ยวกับ พัฒนาการของอินเทอร์เน็ต การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต เทคนิคการใช้งานอินเทอร์เน็ตในเรื่องต่างๆ เมื่ออ่านหนังสือเล่มนี้แล้ว จะสามารถเข้าใจและใช้อินเทอร์เน็ตได้ดีขึ้น แต่การใช้อินเทอร์เน็ตนั้นจะต้องทราบแหล่งบริการ หรือเว็บไซต์ ที่จะเข้าไปใช้ ซึ่งผู้อ่านบางท่าน ยังไม่ทราบว่าจะเข้าไป ใช้บริการอินเทอร์เน็ตได้จากที่ใด ดังนั้นผู้เขียนจึงนำรายชื่อแหล่งบริการ หรือเว็บไซต์ต่างๆ ไปไว้ในภาคผนวก เพื่อเป็นส่วนส่งเสริมให้ผู้อ่านได้ใช้อินเทอร์เน็ตให้ประสบความสำเร็จ  และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

4.2  อภิธานศัพท์ (glossary)
  • เป็นการนำคำศัพท์ที่ปรากฏในเนื้อเรื่อง ที่ผู้เขียนคาดว่าผู้อ่านอาจจะไม่เข้าใจ หรือไม่รู้จักคำๆ นั้นมาก่อน เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้อ่าน ได้อ่านเนื้อเรื่องอย่างเข้าใจและต่อเนื่อง ส่วนใหญ่เป็นคำคัพท์เฉพาะ หรือคำศัพท์เทคนิค โดยการนำคำศัพท์เหล่านั้นมาจัดเรียงตามลำดับอักษร แล้วอธิบายความหมายของคำศัพท์นั้นๆ

4.3  บรรณานุกรม (bibliography)
  • เป็นการนำรายละเอียดทางบรรณานุกรมของเอกสารต่างๆ ที่ประกอบการเรียบเรียงหนังสือเล่มนั้นๆ มาจัดเรียงตามลำดับอักษร เพื่อแจ้งให้ผู้อ่าน ได้ทราบถึงแหล่งความรู้ที่ผู้เขียนได้ใช้ในการเรียบเรียงหนังสือ และแสดงให้เห็นถึง ความน่าเชื่อถือของการค้นคว้าอย่างจริงจังก่อนการเขียนหนังสือเล่มนั้นๆ  ซึ่งอาจมีทั้งหนังสือ วารสาร โสตทัศนวัสดุ หรือสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ โดยรายละเอียด ทางบรรณานุกรมของเอกสารต่างๆ ประกอบด้วย ชื่อผู้แต่ง ปีที่พิมพ์ ชื่อเรื่อง ครั้งที่พิมพ์ สถานที่พิมพ์ และสำนักพิมพ์

4.4  ดรรชนี หรือ บัญชีค้นคำ (index)
  • เป็นการนำหัวข้อย่อยๆ และคำบางคำ ที่ปรากฏในเนื้อเรื่อง มาจัดเรียงตามลำดับอักษร แล้วกำกับด้วยเลขหน้าที่หัวข้อย่อย และคำบางคำนั้นปรากฏอยู่ เพื่อช่วยให้ผู้อ่าน ได้ค้นหาเรื่องราวในตัวเล่มได้รวดเร็วขึ้น
  • หน้าดรรชนี หรือบัญชีค้นคำนี้ มีหน้าที่คล้ายกับสารบัญ คือ ช่วยผู้อ่านให้สามารถค้นหา เรื่องที่ต้องการอ่านได้รวดเร็วขึ้น แต่แตกต่างกันตรงที่สารบัญเป็นการนำหัวข้อต่างๆ มาจัดเรียงตามลำดับก่อนหลังที่ปรากฏในตัวเล่ม แต่ดรรชนีหรือบัญชีค้นคำ เป็นการนำหัวข้อย่อย และคำบางคำ มาจัดเรียงตามลำดับอักษร