wecome

ยินดีต้อนรับสู่ The Library Luxury โรงเรียนวัดหลักสี่พิพัฒน์ราษฎร์อุปถัมภ์

เกร็ดความรู้จากห้องสมุด

 
"สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน
                                 โดยพระราชประสงค์ ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว"
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงตระหนักในความสำคัญของหนังสือสารานุกรมว่า เป็นแหล่งความรู้ที่จำเป็นในการศึกษาแก่คนทุกเพศ ทุกวัย โดยเฉพาะเด็กไทยที่ยังขาดที่เรียน และหนังสือเรียนอยู่เป็นอันมาก เมื่อ พ.ศ.๒๕๐๖ จึงได้มีพระราชปรารภเรื่องการจัดทำหนังสือสารานุกรม สำหรับเด็กและเยาวชนขึ้น พระบรมราชาธิบายเกี่ยวกับสารานุกรมไทย สำหรับเยาวชนฯ พอจะอัญเชิญมากล่าวโดยสรุปดังนี้
๑. สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ ต้องเป็นหนังสือที่คนไทยเป็นผู้เขียนขึ้น เพื่อให้คนไทยอ่าน จัดทำ โดยทุนของคนไทย ไม่ใช่ถอดแบบมาจากต่างประเทศเสียทั้งหมด คือ เพียงแต่รักษาแบบที่ฝรั่งทำไว้เป็นตัวอย่างดีอยู่แล้ว นำมาคิดทำแบบของเราให้เหมาะสมกับคนไทย
๒. สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ ต้องเป็นหนังสือประเภทความรู้ทั่วไป มีความรู้สารพัดอย่าง จะช่วยแก้ปัญหาของการขาดแคลนแหล่งความรู้ การขาดแคลนครู และการขาดแคลนโรงเรียนได้เป็นอย่างดี
๓. สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ จะต้องให้ความรู้ในวิชาทุกสาขาวิชา และแต่ละสาขาวิชานั้น มีความสัมพันธ์ ซึ่งกันและกัน
๔. สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ จะทำขึ้นสำหรับ ๓ ระดับอายุ ในเล่มเดียวกัน เพื่อให้ผู้อ่านสามารถเข้าใจเรื่องราวได้ ตามระดับอายุ คือ ก) ระดับเด็กเล็ก อายุระหว่าง ๘-๑๑ ปี
ข) ระดับเด็กกลาง อายุระหว่าง ๑๒-๑๔ ปี
ค) ระดับเด็กโต เรียนอยู่ในชั้นมัธยมศึกษา และผู้ใหญ่ผู้สนใจทั่วไป
๕. สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ นี้ ต้องมีเฉพาะหลักวิชาแท้ เฉพาะข้อเท็จจริง ผู้เขียนจะไม่แสดงความคิดเห็นของตนเอง ในเรื่องนั้นๆ










"รางวัลซีไรต์

รายชื่อหนังสือที่ได้รับรางวัลซีไรต์

ปี                              ชื่อหนังสือ                                 ประเภท                                    ผู้แต่ง
2522                         ลูกอีสาน                                    นวนิยาย                                    คำพูน    บุญทวี
2523                         เพียงความเคลื่อนไหว                 กวีนิพนธ์                                   เนาวรัตน์   พงษ์ไพบูลย์
2524                         ขุนทองเจ้าจะกลับม                  เรื่องสั้น                                     อัศศิริ    ธรรมโชติ
                                เมื่อฟ้าสาง
2525                         คำพิพากษา                                นวนิยาย                                    ชาติ   กอบจิตติ
2526                         นาฎกรรมบนลานกว้าง               กวีนิพนธ์                                   คมทวน   คันธนู
2527                         ซอยเดียวกัน                              เรื่องสั้น                                     วาณิช   จรุงกิจอนันต์
2528                         ปูนปิดทอง                                 นวนิยาย                                    กฤษณา   อโศกสิน
2529                         ปณิธานกวี                                 กวีนิพนธ์                                   อังคาร   กัลยาณพงศ์
2530                         ก่อกองทราย                              เรื่องสั้น                                     ไพฑูรย์   ธัญญา
2531                         ตลิ่งสูง  ซุงหนัก                         นวนิยาย                                    นิคม   รายยวา
2532                         ใบไม้ที่หายใบ                           กวีนิพนธ์                                   จิระนันท์  พิตรปรีชา
2533                         อัญมณีแห่งชีวิต                         เรื่องสั้น                                     อัญชัน
2534                         เจ้าจันทร์ผมหอม                       นวนิยาย                                    มาลา   คำจันทร์
2535                         มือนั้นสีขาว                               กวีนิพนธ์                                   ศักดิ์ศิริ   มีสมสืบ
2536                         ครอบครัวกลางถนน                    เรื่องสั้น                                     ศิลา  โคมฉาย
2537                         เวลา                                         นวนิยาย                                    ชาติ   กอบจิตติ
2538                         ม้าก้านกล้วย                              กวีนิพนธ์                                   ไพวรินทร์   ขาวงาม
2539                         แผ่นดินอื่น                                   เรื่องสั้น                                    กนกพงศ์   สงสมพันธุ์               
2540                         ประชาธิปไตยบน                       นวนิยาย                                    วินทร์   เลียววาริณ
                                เส้นขนาน
2541                         ในเวลา                                     กวีนิพนธ์                                   แรคำ    ประโดยคำ   
2542                         สิ่งมีชีวิตที่เรียกว่าคน  เรื่องสั้น                                                     วินทร์    เลียววาริณ
2543                         อมตะ                                        นวนิยาย                                    วิมล     ไทรนิ่มนวล
2544                         บ้านเก่า                                     กวีนิพนธ์                                   โชคชัย     บัณฑิต                    
2545                         ความน่าจะเป็น                          เรื่องสั้น                                     ปราบดา  หยุ่น
2546                         ช่างสำราญ                                                นวนิยาย                                    เดือนวาด  พิมวนา     
2547                           แม่น้ำรำลึก                                              กวีนิพนธ์                                   เรวัตร์    พันธุ์พิพัฒน์
2548                           เจ้าหงิญ                                     เรี่องสั้น                                                   บินหลา   สันกาลาคีรี
2549                          ความสุขของกะทิ                        นวนิยาย                                   งามพรรณ   เวชชาชีวะ
2550                          โลกในดวงตาของข้าพเจ้า               กวีนิพนธ์                                มนตรี    ศรียงค์
2551                          เราหลงลืมอะไรบางอย่าง               รวมเรื่องสั้น                          วัชระ     สัจจะสารสิน
2552                          ลับแล   แก่งคอย                             นวนิยาย                                              อุทิศ     เหมาะมูล
2553                         ไม่มีหญิงสาวในบทกวี                                กวีนิพนธ์                                   ซะการีย์ยา  อมตยา
2554                         แดดเช้าร้อนเกินกว่าจะนั่งจิบกาแป  รวมเรื่องสั้น                                  จเด็จ      กำจรเดช

                            
                            
                          
แรคำ  ประโดยคำ  นักเขียนรางวัลซีไรต์ ปี 41
              เกิดเมื่อวันที่ 9 มกราคม 2495 ที่จังหวัดจันทบุรี  สำเร็จปริญญาศิลปศาสตร์บัณฑิต ( ภาษาไทย ) จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อปี พ ศ. 2518 และปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต( วรรณคดีไทย ) จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อปี พ.. 2534 ปัจจุบันรับราชการตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีหนังสือบทกวีรวมเล่มมาแล้ว 5  เล่ม คือ
            แรคำ ( 2528 )   รางวัลดีเด่นในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติประจำปี 2528และ
และเข้ารอบสุดท้ายรางวัลซีไรต์ระจำปี 2529
            ลานชเล ( 2533 ) รางวัลชมเชยในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติประจำปี 2534
            ดิน น้ำ ลม ไฟ  (2535 ) เข้ารอบสุดท้ายรางวัลซีไรต์ระจำปี 2535
            น้ำพุรุ้ง (2538 ) เข้ารอบสุดท้ายรางวัลซีไรต์ระจำปี 2538 และได้รับรางวัล
ในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติประจำปี 2539
           ในเวลา ( 2541 ) รางวัลซีไรต์ประเภทกวีนิพนธ์

วิมล     ไทรนิ่มนวล  นักเขียนรางวัลซีไรต์   ปี  2543
                      วงษ์สฤษฏ์    ไทรนิ่มนวล เจ้าของนามปากกา วิมล ไทรนิ่มนวล  นักเขียนหนุ่มใหญ่วัย  45ปี
เป็นชาวอำเภอบางเลน  จังหวัดนครปฐม  จบการศึกษาปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ ม. ศรีนครินทรวิโรฒ
ประสานมิตร  เคยรับราชการเป็นครูมานานกว่า 10 ปีเต็ม ก่อนที่จะออกมาทำงานเขียนเต็มตัว โดยการก่อ
ตั้งสำนักพิมพ์ทานตะวัน ในปี 2526 เคยจัดพิมพ์นิตยสารวรรณกรรม เพื่อนนักอ่าน   และงานเขียนของตนเอง
                      ตลอดระยะเวลาการทำหน้าที่บทบาทเจ้าของสำนักพิมพ์ทานตะวันมาเป็นเวลานับ 10 ปี
วิมล   ไทรนิ่มนวล ต้องประสบปัญหาเศรษฐกิจอย่างหนัก  หลังจากปิดสำนักพิมพ์ตัวเองแล้ว  วิมล ก็มาร่วม
งานกับ ต้นอ้อ -  แกรมมี่ ซึ่งก็ต้องปิดตัวเองในเวลาต่อมา นวนิยายเรื่องล่าสุด อมตะ  วิมลได้ร่วมลงทุนกับ
เพื่อนๆ จัดพิมพ์ขึ้น ในนามสำนักพิมพ์ สยามประเทศ
อมตะ   เป็นนวนิยายเชิงจินตนาการถึงโลกอนาคต  เกี่ยวกับการแสวงหาความเป็นอมตะของชีวิต
โดยใช้รูปแบบวิวาทะระหว่างแนวคิดบริโภคนิยม กับแนวคิดทางศาสนาของโลกตะวันออก โครงเรื่องหลัก
คือ การทำโคลนนิ่งมนุษย์ในอนาคต และการเปลี่ยนถ่ายอวัยวะ อันนำไปสู่ปัญหาด้านมนุษยธรรมและ
จริยธรรม
 โชคชัย     บัณฑิต

                      เกิดเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2509 ที่ อำเภอลาดยาว  จังหวัดนครสวรรค์ ผ่านการศึกษาในโรงเรียนหลายแห่ง  ตามเงื่อนไขของครอบครัวที่ต้องการให้ได้รับโอกาสทางการศึกษามากที่สุด  โดยเริ่มจากโรงเรียนปฐมสิทธิพิทยาคาร ( .1-4 ) และโรงเรียนบูรพาศึกษา ( .5-6 ) ในอำเภอบ้านเกิด จากนั้นจึงได้เข้ามาศึกษาต่อที่ โรงเรียนโชติรวี ( 7 ) และโรงเรียนนครสวรรค์ ( .. 1-5 ) ในตัวจังหวัด ก่อนสำเร็จปริญญาตรี รัฐศาสตร์บัณฑิต จากคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และปริญญาโท  ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต ( ไทยศึกษา ) จากคณะมนุษยศาสตร์  มหาวิทยาลัยรามคำแหงตามลำดับ
                      ผลงานบทกวี

1. กังสดาลดอกไม้  2534
2. ลมอ่อนตะวันอุ่น 2537
3. เงานกในร่มไม้     2538
รางวัลทางวรรณกรรมที่เคยได้รับรางวัล

·   .. 2535  บทกวี  เวทนา ได้รับรางวัลชมเชย
   จากสมาคมภาษาและหนังสือแห่งประเทศไทย
·  .. 2541 บทกวี ปีกไม้ - ลายแทง  ได้รับรางวัล
   ชมเชยจากสมาคมภาษาและหนังสือแห่งประเทศไทย

                        ปัจจุบันรับราชการในตำแหน่งวิทยาจารย์
    สอนวิชาภาษาไทย อยู่ที่ศูนย์ฝึกพาณิชย์นาวี กรม
    เจ้าท่า กระทรวงคมนาคม
บ้านเก่า   สื่อความคิดของกวี โดยเรียบเรียง
ประสบการณ์และสิ่งธรรมดาสามัญรอบตัว ซึ่งคน
ทั่วไปอาจมองข้าม กวีสังเกตสังคมด้วยสัมผัสอันละเอียดอ่อน  จากมุมมองเฉพาะตัวที่โดดเด่น โดย
มีภาพ  บ้านเก่าซึ่งแสดงวิถีชีวิตดั้งเดิมเป็นฉาก
เขามองเห็นความเปลี่ยนแปลงของสังคมเมือง โดย
เฉพาะกระแสบริโภคนิยมและเทคโนโลยีสมัยใหม่
ที่รุกเข้ามาลบภาพ  บ้านเก่า ’’ ไปทีละน้อย